ศิลปินและผลงาน

2018-23-นายอินสนธิ์ วงศ์สาม_4449
INSON
WONGSAM
Shadow

อินสนธิ์ วงค์สาม

ศิลปินผู้เป็นตำนาน

การสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินนั้นมีองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยเสริมให้ผลงานมีคุณภาพคือ ประสบการณ์ ได้แก่ ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ศิลปะ ศิลปินต้องสั่งสมประสบการณ์ทั้งสองประเภทไว้ เป็นเชื้อเพลิงที่ช่วยให้เกิดพลังสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ศิลปินจะต้อง มีจินตนาการ ในโลก แห่งนามธรรมที่สามารถแปรเป็นรูปธรรมด้วยกลวิธีทางศิลปะที่ตนถนัดและเชียวชาญ ประการสุดท้ายศิลปินต้องมี ปัญญา ที่แยบยลพอที่จะประมวลประสบการณ์ จินตนาการให้เป็นศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของตนออกมาได้อย่างมีคุณภาพ

อินสนธิ์ วงค์สาม เป็นศิลปินร่วมสมัยของไทยที่คุณสมบัติดังกล่าวทุกประการ เฉพาะประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางศิลปะนั้น อินสนธิ์ได้ผ่านมาแทบทุกรูปแบบเป็นวลาหลายสิบปี ยากที่ศิลปินไทยคนใดจะเสมอเหมือน จนกล่าวได้ว่า ชีวิตอินสนธิ์เป็นตำนานในวงการศิลปะไทย

อินสนธิ์เริ่มสั่งสมประสบการณ์ด้วยการเดินทางจากซีกโลกตะวันออกไปตะวันตกด้วยจักรยานยนต์ หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ค.ศ. 1961) เพื่อไปศึกษาและหาประสบการณ์ทางศิลปะที่ประเทศอิตาลีซึ่งเป็นศูนย์กลางของศิลปะสำคัญของตะวันตกและถิ่นกำเนิดของอัจฉริยะศิลปินอย่าง มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี(Michelangelo Buonarroti:1475-1564) เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci-1452-1519) รวมทั้งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Corrado Feroci:1892-1962)อาจารย์ ของอินสนธิ์ การเดินทางข้ามประเทศเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาไม่ง่ายเหมือนทุกวันนี้ ยิ่งยากลำบากมากขึ้นเมื่อขาดปัจจัยสำคัญในการเดินทางสอง อย่างคือ เงินและความรู้เรื่องภาษาต่างประเทศ แต่ทั้งสองสิ่ง ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับอินสนธิ์เพราะเขาคิดว่า เงินนั้นสามารถหาได้หากมีฝีมือและมีปัญญา ส่วนเรื่องภาษานั้น “ภาษา..(หมา)เรียนได้..” ในเมื่อเขาเป็นคนทำไมจะเรียนรู้ภาษาของคนด้วยกันไม่ได้

การเดินทางและการแสวงหา

การเดินทางไปประเทศอิตาลีของอินสนธิ์ต่างจากคนอื่นซึ่งสมัยนั้นคือมักเดินทางด้วยเรือโดยสารรอนแรมไปในทะเลนานนับเดือน แต่อินสนธิ์ต้องการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ สร้างความตื่นเต้นให้เพื่อนฝูงและผู้คนใน ขณะนั้นอย่างมาก เพราะโลกในอดีตนั้นใหญ่โตกว้างขวาง ยากที่จะเดินทางข้ามโลกได้เพียงลำพัง แต่สิ่งเหล่านี้ไมใช่เรื่องใหญ่เกินความมุ่งมั่นของอินสนธิ์ เขาเสนอความคิดการเดินทางข้ามโลกด้วยจักรยานยนต์แก่ผู้แทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์จากอิตาลีในประเทศไทยบริษัทหนึ่งว่า หากมอบรถจักรยานยนต์สกูตเตอร์(Lambretta Scooter) ให้แก่เขาคันหนึ่งเขาจะขับจากประเทศไทยไปถึงประเทศอิตาลี ความคิดของอินสนธิ์ได้รับการตอบสนองด้วยดี เขาได้รับรถจักรยานยนต์สกู๊ตเตอร์ตามต้องการ หลังจากนั้นเขาก็เอาความคิดนี้ไปเสนอบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อขอเติมน้ำมันฟรีตลอดการเดินทาง ซึ่งก็ได้รับการตอบสนองด้วยดีเช่นเดียวกัน ดังนั้นปัญหาเรื่อง ยานพาหนะในการเดินจึงหมดไป แต่ยังมี ปัญหาเรื่องเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวระหว่างการเดินทาง ซึ่งอินสนธิ์แก้ปัญหาด้วยการนำผลงานภาพพิมพ์ของเขามากกว่า 500 ชิ้นติดตัวไปเพื่อจัดแสดงและจำหน่ายหาเงินมาเป็น คำใช้จ่ายในการเดินทาง

หลังจากวางแผนและตระเตรียมทุกอย่างพร้อมอินสนธิ์ก็ออกเตินทางจากกรุงเทพฯในปีพ.ศ.๒๕๐๕ ด้วยรถสกู๊ตเตอร์ไปปีนัง ประเทศมาเลเซียเพื่อลงเรือ ไปขึ้นที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย จากนั้นเดินทางไปตะวันตกเรื่อยๆ จนถึง กรุงนิวเดลล์ เมืองละฮอร์(Lahore)เมืองการาจี ปากีสถาน กรุงเตหราน ประเทศอิหร่าน นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี และ กรุงเอเธนส์ประเทศกรีซ และอาศัยอยู่กับชาวประมงบนเกาะคอร์ฟู(Corfu) ประมาณ 5 เดือนเพื่อสร้างงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ชุดใหม่ เพื่อเป็นปัจจัยในการเดินทางต่อไป ตลอดการเดินทางอินสนธิ์ต้องฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ แต่ในที่สุดเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ

การเดินทางของอินสนธิ์เสมือนการไปนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในนครแห่งศิลปะ เพื่อชื่นชมศิลปกรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกตามสถานที่ต่างๆระหว่างที่อยู่ในอิตาลีอินสนธิ์ได้จัดแสดงผลงานที่เมืองฟลอเรนซ์และเดินทางไปจัดแสดงผลงานที่เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย และนครซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์หลายครั้ง ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ อินสนธิ์เดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสขณะที่แทบไม่มีเงินติดตัวเลย เขาพำนักและทำงานในกรุงปารีสอยู่ระยะหนึ่ง และมีโอกาสเข้าศึกษาศิลปะเพิ่มเติมที่ L Ecole Nationale Superieure des Arts Decoratifs จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๙ อินสนธิ์จัดแสดงงานศิลปกรรม(Haut Pave Gallery ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร ทำให้เขามีทุนพอที่จะเดินทางไปแสวงหาประสบการณ์ในประเทศตะวันตกที่ยิ่งใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา

อินสนธิ์เดินทางไปถึงนครนิวยอร์ก ขณะที่มีเงินเหลืออยู่ในกระเป๋าเพียงหนึ่งดอลลาร์เท่านั้น แต่เงินไม่เป็นปัญหา เพราะหลายปีในต่างแดนทำให้เขาเรียนรู้ว่าการหาเงินไม่ใช่เรื่องยาก ในที่สุดอินสนธิ์ก็สามารถสร้างสตูดิโอที่หมู่บ้านตะวันออก (East Village) ได้สำเร็จ เขาพำนักอยู่ในนครนิวยอร์กประมาณ ๖ ปี ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ Atlantic Highlands มลรัฐนิวเจอร์ซี(New Jerseyอินสนธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาประมาณ ๗ ปี (พ.ศ.๒๕๑๐ – ๒๕๑๗ ) เขาได้รับประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่ง ได้เรียนรู้ว่าการมีชีวิตอยู่ในโลกทุนนิยมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและค่าครองชีพสูงนั้นยากลำบากเพียงไร แต่อินธิ์สนก็เอาตัวรอดได้ด้วยความสามารถรอบตัวของเขา ตั้งแต่ทำเครื่องโลหะ เช่น เครื่อง เงิน เครื่องทองเหลืองจำหน่าย โดยใช้ความรู้และ ฝีมือช่างทองที่สืบทอดมาจากพ่อและทีนานทางศิลปะที่ดีซึ่งได้รับมาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้อินสนธิ์มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ยากลำบากนัก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบบีบคั้นของเมืองใหญ่ทำให้เขาเห็นว่า ถ้าอยู่ต่อไปโนโลกที่แล้งน้ำใจ คงไม่เป็นผลดีต่อจิตใจที่อ่อนไหวของเขา อินสนธิ์จึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดนนานกว่าสิบปี สิ่งที่อินสนธิ์นำติดตัวกลับมาคือ ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ศิลปะ โดยปราศจากทรัพย์สินและเงินทอง อินสนธิ์กล่าวว่า “..เมื่อไปมือเปล่า ก็กลับมามือเปล่า..”

 

คืนสู่รากเหง้า

เมื่อกลับเมืองไทยแล้วอินสนธิ์หลบความวุ่นวายของสังคมเมืองและ ป่าคอนกรีต ไปปักหลักทำงานศิลปะอย่างเงียบๆ ที่บ้านเกิด โดยสร้างสตูดิโอขึ้นที่ ห้วยไฟ ตีนเขาถ้ำช้าง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และที่นั่นเองเขาได้ซึมซับความงามของธรรมชาติเข้าไว้และเริ่มมองเห็นคุณค่าและความงามของวัสดุธรรมชาติคือไม้ โดยเฉพาะตอไม้สักขนาดใหญ่ ที่ถูกตัดต้นไปโดยไม่มีใครสนใจ ตอที่จมอยู่ในดิน บางที่ชาวบ้านเผาทิ้งเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูก อินสนธิ์เห็นว่า ตอไม้เหล่านั้นมีรูปทรงที่มีความงามและมีวิญญาณอยู่ในตัวของ มัน จึงไม่ยากที่จะนำมาตัดทอน แปรงรูปทรง ปริมาตร และพื้นผิวให้เป็นไปตามความคิดของตนก็จะสามารถนฤมิตตอไม้ให้เป็นผลงานประติมากรรมได้ไม่ยาก ด้วยพลังสร้างสรรค์ที่คุโชนอยู่ในจิตใจของเขาตลอดเวลาประกอบกับประสบการณ์ทางศิลปะที่สั่งสมมานานปี อินสนธิ์สร้างงานประติมากรรมไม้สักขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากจนจัดแสดงที่หอศิลป พีระศรี ซอยอรรถการประสิทธิ์ ถนนสาทร กรุงเทพฯได้ในปีถัดมา

อินสนธิ์เป็นศิลปินที่มีไฟในการสร้างสรรค์คุโซนอยู่ตลอดเวลาและเป็นศิลปินที่มีจินตนาการกว้างไกล มีความคิดฝันในการสร้างสรรค์ศิลปะที่แปลกใหม่อยู่เสมอ มีศักยภาพในการ ทำงานศิลปะสูง สมองของเขาเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และมุ่งมั่นอยู่กับการทำงานศิลปะอยู่ตลอดเวลา อินสนธิ์ทำงานศิลปะอย่างจริงจังและยึดมั่นในอุดมการณ์ทางศิลปะ ไม่โอ้อวด อินสนธิ์สร้างงานศิลปะอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี ทั้งผลงานประติมากรรม จิตรกรรม วาดเส้น และภาพพิมพ์จำนวนมาก นอกจากผลงานศิลปกรรมแล้ว สตูดิโอและบ้านพักที่ บ้านป่าซางน้อย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน หลายหลังเป็นฝีมือของเขาสิ้น ตั้งแต่การออกแบบ การแกะสลักไม้เพื่อใช้เป็นผนัง บานประตู หน้าต่าง และใช้ ตกแต่งส่วนต่างๆ จนเป็นผลงานศิลปกรรมมากกว่าสตูดิโอหรือบ้านซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ศิลปะร่วมสมัยและสวนประติมากรรม

อินสนธิ์ชอบเดินทางไปตามที่ต่างๆเพื่อหาประสบการณ์ เมื่อเขาหยุดเดินทางก็ทำงานศิลปะดังนั้น อินสนธิ์ จึงเดินทางไปแทบทั่วโลก หลังจากเดินทางก็กลับมาทำงานศิลปะ เขาปฏิบัติเช่นนี้อยู่ตลอตเวลา เช่น ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เดินทางไปยุโรป แอฟริกา โดยพำนักที่ GURUVE ประเทศ ZIMBABWE อยู่ระยะหนึ่งเพื่อดูการสลักหินของชนพื้นเมือง ขณะเดียวกันอินสนธิ์ได้แกะสลักหินด้วยตนเองด้วย เขาได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ ได้เรียนรู้การทํางานของช่างแกะสลักหิน ที่รู้จักเลือกสรรค์หินที่มีคุณภาพดีมาแกะสลัก ทำให้ได้งานประติมากรรมที่มีคุณภาพสูงอย่างที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน สิ่งเหล่านี้ได้จุดประกายแห่งการสร้างสรรค์ในตัวอินสนธิ์ให้คุโซนขึ้นอีกครั้ง เขาขนหินจำนวนหนึ่งกลับมาและลงมือแกะสลักอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันอินสนธิ์ได้พบตอไม้มะขามขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ทําให้เขาเกิดจินตนาพที่จะสร้างงานประติมากรรมขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยหินและไม้ อินสนธิ์เรียกผลงานชุดนี้ว่า “ดิน น้ำ ลม ไฟ”หรือ The Four Elemerits” ซึ่งจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป ถนนเจ้าฟ้าฯ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๕ มกราคม ๒๕๓๔

ผลงานชุดนี้มีลักษณะเป็นงานศิลปะแบบจัดวาง (Installation)โดยจัดวางผลงานในห้องแสดงที่มี แสงเป็นองค์ประกอบเสริมให้เป็นไปตามแนวคิดของศิลปิน ผลงานที่นำมาแสดงจึงเป็นการแลนอแนวคิดของคิลปินช่วงหน่ง ที่ใช้บรรยากาศใน ห้องแสดงเป็น องค์ประกอบ มากกว่าสัมฤทธิ์ผลและคุณค่าของผลงาน การนำเสนอผลงานเช่นนี้ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ ๑๔๗๐ ด้วยประสบการณ์การสร้างสรรค์ศิลปะที่ยาวนานของอินสนธิ์ทำให้เขาสามารถนำเสนอได้เป็นอย่างดี ผลงานประติมากรรมชุดนี้ทำขึ้นอย่างฉับพลัน ด้วยการนำตอไม้มะขามมาดัดแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น ใช้เลื่อยถากปาดผิวออกเล็กน้อยแล้วใช้ไฟลนเพื่อให้ได้สีและพื้นผิวที่คงความงามตามขรรมชาติเอาไว้ โดยศิลปินมีส่วนเข้าไปกระทำมันน้อยที่สุด เมื่ออินสนธิ์นำสิ่งเหล่านี้มาจัดวางอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนในจำนวนมาก และใช้เทียนจุตไว้ในโพรง เพื่อให้มีแสงออกมาจากภายใน ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกออกไป อินสนธิ์กล่าวว่านี่เป็นการส่งวิญญาณของไม้ไปสวรรค์ ในส่วนถัดมาเป็นผลงานประติมากรรมที่สร้างจากส่วนกิ่งก้านของไม้มะขามที่ให้ความรู้สึกอีกลักษณะหนึ่ง

ผลงานแกะสลักหินจากแอฟริกาของอินสนธิ์ แม้จะมีขนาดเล็ก และคงรูปทรงของธรรมชาติเอาไว้เป็นส่วนใหญ่ก็น่าสนใจ อินสนธิ์ นำเสนอด้วยการวางไว้ในโหลน้ำ การทักแหของแสงในน้ำทำให้เห็นรูปทรงที่ต่างไปจากการวางผลงานบนแท่นธรรมดาๆ แนวคิดนี้เป็นการเริ่มต้นของการสร้างงานชุดประติมากรรมแห่งท้องทะเลต่อมา ซึ่งเป็นงานโลหะขนาดเล็ก ทำด้วยทองเหลืองและทองแดง ประติมากรรมขนาดเล็กเหล่านี้เป็น เสมือนยานแห่งความฝันที่พาเขาหลบจากโลกที่เต็มไปด้วยมลภาวะลงไปอยู่ใต้มหาสมุทรหรืออวกาศ (SiFi Art Techno Fix)อินสนธิ์สร้างงานประติมากรรมโลหะขนาดเล็กไว้มากกว่า ๔๐๐ ชิ้น ต่อมาอินสนธิ์ได้แปรความคิดนี้มาสร้างงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ขึ้นจำนวนหนึ่ง

วัฒนาการของภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้

อินสนธิ์เป็นผู้บุกเบิกการสร้างงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ยุคแรกๆ ของไทย เขาเคยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับสาม เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๙ พ.ศ.๒๕๐๑ จากภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ชื่อ “ชีวิตไทย” (ขนาด ๗๐ x ๑๘๐ เซนติเมตร) รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๐๔ จากผลงานภาพพิมพ์ไม้ชื่อ “ภาคเหนือ” (ขนาด ๗๐ x ๑๘๐ เซนติเมตร) และได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับสาม เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๐๕ อินสนธิ์นำวิถีชีวิตของผู้คนมาสร้างองค์ประกอบศิลป์ได้อย่างน่าสนใจ แม้จะเป็นเพียงภาพพิมพ์ขาว-ดำก็ตาม อินสนธิ์สร้างงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้อย่างต่อเนื่องมานานหลายสิบปี จนเข้าใจลักษณะพิเศษของภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ได้เป็นอย่างดีนอกจากนี้เขายังปรับกรรมวิธีของภาพพิมพ์มาใช้กับจิตรกรรมสีน้ำ บาติก ช่วง พ.ศ.๒๕๓๐ โดยนำรูปทรงของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาเป็นรูปทรงหลัก แนวคิดนี้ปรากฏในงานย้อมผ้าหรือบาติดและไม้แกะสลัก จนถึงการแสดงพลังออกมาด้วยหมึก น้ำกาแฟ และ ภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ ในปีพ.ศ.๒๕๔๒ หลังกลับจากนิวยอร์กอินสนธิ์ได้สร้างงานศิลปะอีกชุดหนึ่งคือประติมากรรม Imaginative Machines และงานวาดเส้นชุด บันทึกประจำวัน ซึ่งสร้างงานเป็นประจำทุกวัน บางภาพได้รับความบันดาลใจมาจากสำนวนไทยที่เขารักและ ชื่นชอบ อินสนธิ์มีนิสัยกวีมาช้านาน บทกวีของเขามีแนวคิดที่ลุ่มลึก แปลก และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น

“แมงขี้เบ้า เช้าก็กลิ้งลงจากเขา
ตกลงเอาไส่หน้าผา ก็หาว่าสนุกเอา
ต้นไม้จ้องดูเขา แมงขี้เบ้าก็ เล่าไป
พอนกเจ้าเห็นเข้า แมงขี้เบ้าก็หลบหาย”
“สีห์เป็นหมีสองตัว รั้วกั้นไว้ ยังข้ามไป
ผึ้งสองรัง หมีกินกันหมด อดกินทั้งคู่ รู้ไว้เถอะ
เกลือยังไม่เค็มเท่าใจคน
จำไว้ แต่คำเดียว ขี้เหนียวไม่มีทาง ฯลฯ”

ผลงานวาดเส้นชุดนี้มีสำนวนที่เขียนไว้ใต้ภาพเป็นแง่คิดสันๆ เช่น งัดข้อ  ฆ่าหงส์เลี้ยง ก. งงเป็นไก่ตาแตก ขุนไม่ขี้ ขุดดินกินหญ้า ดอกกุหลาบดอกเดียว ขูดเลือดขูดเนื้อ ต่อมาสำนวนไทยเหล่านี้ถูกแปลเป็นผลงานมาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้สีขาวดำ ด้วยการเล่นรูปทรง จังหวะ น้ำหนักเส้น อย่างง่ายๆ ผลงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ของอินสนที่มีเสน่ห์ที่แสดงให้เห็นการสร้างสรรค์ที่รืนไหลไปตามความต้องการของศิลปินอย่างตรงไปตรงมาและเรียบง่าย

อินสนธิ์ วงค์สาม เป็นประติมากรร่วมสมัยของไทยที่มีความสามารถและ ศักยภาพสูงยิ่งคนหนึ่ง และเป็นศิลปินรุ่นอาวุโสที่วุ่นราวคราวเดียวกับ ดำรง วงค์อุปราช ถวัลย์ ดัชนี ประพันธุ์ ศรีสุตา ปรีชา อรชุนกะ ซึ่งศิลปินรุ่นนี้เคยเป็นศิลปินหนุ่มไฟแรงเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีก่อนและแม้ปัจจุบันเขาเหล่านี้ก็ยังมิได้ห่างไกลไปจากวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย โดยเฉพาะอินสนธิ์ยังเป็นศิลปินที่มีศรัทธาในศิลปะอย่างมั่นคง และสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างสม่ำเสมอมานานหลายสิบปี ไม่พะวงว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคมหรือไม่ ทั้งนี้เพราะ ศิลปะคือชีวิตและวิญญาณของอินสนธิ์

ดังกล่าวแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็น อินสนธิ์ วงค์สาม ศิลปินผู้มีชีวิตเป็นตำนานที่เล่าขานกันไม่จบ และสิ่งสำคัญผลงานแกะสลักไม้ของอินสนธิ์ได้รับการยอมรับว่า มีเอกลักษณ์เฉพาะที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง อินสนธิ์ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ประติมากรรม ประจำปี พ.ศ๒๕๔๒

ปัจจุบัน อินสนธิ์ วงค์สาม พำนาอยู่ที่บ้านป่าซางน้อย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นศูนย์รวมศิลปะร่วมสมัยและสวนประติมากรรมที่อันสนธิได้อุทิศให้เป็นศูนย์การศึกษาศิลปะของท้องถิ่น ภายใต้การดูแลของหอศิลป์ ฯ ซึ่งจะทำให้สถานที่ดังกล่าวเป็นมรดกที่คงอยู่ไปชั่วกาลนาน

ภาพ: The Cloud
หอศิลป อุทยานธรรมะ อินสนธิ์ วงศ์สาม
ภาพ: The Cloud

อินสนธิ์ วงศ์สาม

ประวัติส่วนหนึ่งของ อินสนธิ์ วงค์สาม

อินสนธิ์ เกิดที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๗ ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนจักรคำคณาทร (โรงเรียนเดียวกับ ทวี นันทขว้าง ศิลปินแห่งชาติ จังหวัดลำพูน เริ่มศึกษาศิลปะที่โรงเรียนศิลปะศึกษา(โรงเรียนเตรียมของมหาวิทยาลัย ศิลปากร ปัจจุบันคือ วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาประติมากรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับสาม เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครังที่ ๙ พ.ศ.๒๕๐๑ รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๐๔ และได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับสาม เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๐๕ รางวัลวัลเกียรตินิยมอันดับ ๒ เหรียญเงิน

พ.ศ. ๒๕๐๔ เดินทางรอบโลกด้วยจักรยานยนต์สกู๊ดเตอร์ ดูงานและแสดงผลงาน ศิลปะในประเทศต่างๆในยุโรปหลายประเทศ และเข้าศึกษาศิลปะที่ LEcole Nationale Des Arts Decoratifs กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

พ.ศ. ๒๕๑๐ เดินทางไปพำนักและทำงานศิลปะที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๕๑๗ เดินทางกลับประเทศไทย และสร้างสรรค์งานศิลปกรรมมาจนปัจจุบัน

ผลงาน (โดยสังเขป)

2500Nation Exhibition of Thailand, International Exhibition, Japan

2501 นิทรรศการศิลปินไทยร่วมสมัย, กรุงเทพฯ รางวัลที่ 2 (วาดเส้น), รางวัลที่ 3 (จิตรกรรม)

2502 ศิลปกรรมแห่งชาติ รางวัลที่ 3 (จิตรกรรม)

2503 ศิลปกรรมแห่งชาติ รางวัลที่ 2 (ภาพพิมพ์)

2504 นิทรรศการกลุ่ม All India fine Arts Society of new Delhi

นิทรรศการเดี่ยว The Arts Council of Pakistaqn

นิทรรศการเดี่ยว Gilganesh Gallery, Tehran, Iran

2506 นิทรรศการเดี่ยว Consulat de France, Istanbul

นิทรรศการเดี่ยว Numero Galleria, Firenze, Italy

2507 นิทรรศการเดี่ยว Galerie Fuchs, Vienna, Austria

2509 นิทรรศการเดี่ยว Galerie de Haut Pave, Paris

2510 นิทรรศการเดี่ยว Lichfield Gallery, Conn, USA International Exhibition

นิทรรศการกลุ่ม International Exihibition of Brazil

2511 นิทรรศการเดี่ยว One Eleven Gallery, New York

2512 นิทรรศการคู่ De Mena Gallery, New York

2523 นิทรรศการเดี่ยว Alliance Franaise, กรุงเทพฯ

2528 Exhibition of Fine Arts, People Republic of New Delhi 

2530 นิทรรศการกลุ่มศิลปินภาคเหนือ, กรุงเทพฯ

2534 นิทรรศการเดี่ยว พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

2539 นิทรรศการกลุ่ม ศิลปะรัชกาลที่ 9, กรุงเทพฯ

2542 ได้รับเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) นิทรรศการเดี่ยว หอศิลป์เจ้าฟ้า, กรุงเทพฯ

2549 นิทรรศการทัศนศิลป์ ของศิลปิน

2555 นิทรรศการคู่ The Two Journeys

2557 นิทรรศการอินสนธิ์ วงค์สาม จิตวิญญาณอิสระ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

2559 นิทรรศการคู่ เชิดชูเกียรติ 80ปี ศิลปินแห่งชาติ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผลงานไม้แกะ

ผลงานประติมากรรมทองเหลือง

ผลงานประติมากรรมถอดชิ้น

ผลงานประติมากรรมไม้แกะ

ผลงานประติมากรรมโลหะ หล่อ Bronze

ผลงานประติมากรรมโลหะ หล่อ Bronze

อาคารโรงพิมพ์พ่อจัดแสดงผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ ( woodcut)

อาคารบ้านชาวยองจัดแสดงผลงานประติมากรรมหล่อ Bronze

อาคารบ้านป้าไฮจัดแสดงผลงานภาพพิมพ์ช่วงปี 1960

การเดินทางไปอิตาลี

ผลงานประติมากรรมโลหะ ชุด Under the sea

อาคาร Museum จัดแสดงผลงานประติมากรรมแกะไม้ และ ภาพพิมพ์

ผลงานประติมากรรม แกะไม้นูนต่ำ

ชุดไข่อวกาศ

ผลงานภาพพิมพ์แกะไม้

อาคาร painting จัดแสดงผลงาน Heet painting on canvas